แนะนำให้ใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์

บทความ ทำไมต้องปุ๋ยอินทรีย์เคมี
โดย สมบัติ สุขมะณี
เนื่องจากความต้องการในการเพิ่มศักยภาพการผลิตในพื้นที่ดินเพื่อการเกษตรที่สูงขึ้นทำให้มีการใช้ปุ๋ยเคมีจำนวนมหาศาล ต่อเนื่องและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี (สนง.เศรษฐกิจการเกษตร2549-54) เพราะปุ๋ยเป็นสินค้าจำเป็นในการเพิ่มผลผลิตของพืช และเพราะปุ๋ยเคมีง่ายต่อการจัดหาและให้ผลตอบสนองที่ชัดเจนจึงมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย จึงมีมูลค้าการตลาดมากว่า1แสนล้านบาท แต่เพราะความเร่งรีบและต้องการเพิ่มศักยภาพการผลิตที่มากเกินไปทำให้เกษตรกรละเลยต่อการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องจึงส่งผลเสียตามมา ที่เห็นได้ชัดเจนคือต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นและภาวะดินเสื่อมโทรมจากปุ๋ยเคมีที่ตกค้างในดิน ทำให้ดินตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยเคมีน้อยลง แต่เกษตรกรกลับเข้าใจผิดยิ่งเพิ่มการใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อให้พืชตอบสนองดีขึ้น ถือเป็นการซ้ำเติมภาระต้นทุน อีกทั้งความเสื่อมสภาพของดิน
นับแต่ปี2530 จึงมีการศึกษาเพื่อฟื้นฟูศักยภาพของดินโดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งให้ผลดีมากคือสามารถปรับสภาพดินให้ดีขึ้นและเพิ่มผลผลิตพืชได้ชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพียงอย่างเดียวจะตอบสนองต่อพืชเพียงระยะแรกเท่านั้น คือหลังจากดินได้รับอินทรีสารจะปลดปล่อยปุ๋ยเคมีที่ตกค้างออกมาให้กับพืช และสารอาหารตกค้างจะถูกใช้หมดไปในเวลาต่อมา จึงต้องมีการแนะนำให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี คือมีจุดประสงค์ทั้งเพื่อให้อาหารพืช(ปุ๋ยเคมี)และการอนุรักษ์ดิน(ปุ๋ยอินทรีย์)
ทั้งนี้การศึกษาถึงภาพรวมของการใช้ปุ๋ยและปัญหาในอดีตยังนำไปสู่การพัฒนาและผลิตนวัตกรรมใหม่ของสินค้าออกมา โดยมีปัญหาและทางออกเพื่อการแก้ไขโดยลำดับคือ
1. ความต้องการเพิ่มผลผลิตทำให้ใช้ปุ๋ยเคมีมากขึ้น
2. พืชต้องการธาตุอาหารทีละน้อยและต่อเนื่อง แต่เกษตรกรใส่ปุ๋ยเพียงปีละ2-3ครั้ง โดยใส่ครั้งละมากๆโดยหวังว่าจะให้พืชดูดกินอย่างเพียงพอ ทั้งนี้อาจเพราะปัญหาด้านแรงงาน
3. การใส่ปุ๋ยเคมีน้อยครั้งและคราวละมากๆทำให้เกิดภาวะความเป็นพิษต่อดินและพืช(over dose) อีกทั้งเกิดความสูญเสียธาตุอาหารได้ง่าย จากการระเหิด ระเหย ถูกพัดพาโดยน้ำ และการบล็อกของดิน(โดยเฉพาะ PและK) โดยมีการสูญเสียเฉลี่ยถึง40-60%(ยงยุทธ 2531)
4. และเพราะปัญหาจากสูญเสียธาตุอาหาร ผู้ผลิตกลับชดเชยด้วยการผลิตปุ๋ยเคมีที่มีสูตรเข้มข้นขึ้น(NPK สูงๆ) เพื่อหวังจะช่วยเพิ่มผลผลิต กลับจึงยิ่งส่งผลความเป็นพิษต่อดินและพืชมากขึ้น
จากการศึกษาปัญหาจึงมีแนวทางการพัฒนาดังนี้
A. ใช้ปุ๋ยสูตรที่เหมาะสมกับพืช ไม่ต้องเผื่อสูญเสีย จากการวิเคราะห์พืชและดิน(ปุ๋ยสั่งตัด)
B. แนะนำให้เกษตรกรแบ่งใส่ปุ๋ยหลายๆครั้ง ต้นทุนสูง, แก้พฤติกรรมเกษตรกรยาก
C. เพิ่มการใช้ประโยชน์ได้ของปุ๋ย โดยยืดระยะการละลายของปุ๋ย เช่นผสมตัวดูดซับ หรือ การเคลือบผิวให้ละลายช้า ต้นทุนสูง
D. แนะนำให้ใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ใช้แรงงาน, ยุ่งยาก, ผสมแล้วแฉะเละ
E. ทำเป็นปุ๋ยอินทรีเคมีcompound ในสูตรที่เหมาะสม
ทำไมต้องอินทรีเคมี
ในพืชที่ปลูกในดิน ดินมีความสัมพันธ์ต่อผลิตภาพของพืชมาก การใส่ปุ๋ยก็เพื่อเพิ่มศักยภาพของดินและส่งต่อไปยังพืช เพื่อพัฒนาเป็นผลิตผล ปัจจัยและความสัมพันธ์ชองดิน ปุ๋ยและพืชมีดังนี้
องค์ประกอบของดินดี ได้จาก ปุ๋ยอินทรีเคมี
Physical คือกายภาพดี เช่นสภาพร่วนซุย อากาศถ่ายเทได้ดี รากแทงได้ง่าย ไม่แข็งดาน ปุ๋ยอินทรีย์(OM20%) และวัสดุปรับปรุงดิน อินทรีวัตถุ >10% +สารปรับสภาพดิน ช่วยดูดซับธาตุอาหารไม่ให้สูญเสียและละลายให้พืชช้าๆตามต้องการ
Chemical คือส่วนประกอบทางเคมี ที่พืชต้องการ เช่น N,P,K,Ca,Mg,S,Fe ปุ๋ยเคมี (NPK)
ปุ๋ยธาตุอาหารรองและเสริม NPK >12%
+ธาตุอาหารรอง+ธาตุอาหารเสริม
Biological คือ มีความสมบูรณ์ทางนิเวศน์ของดิน มีจุลินทรีย์ช่วยในการย่อยสลายซากพืช สัตว์และปลดปล่อยธาตุอาหาร ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยอินทรีย์ มีActive mediaจากอินทรีสาร เช่น กรดอะมิโนและน้ำตาล เป็นแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ธรรมชาติที่เข้ามากินและขยายจำนวน

การผลิตปุ๋ยอินทรีเคมีสามารถออกแบบส่วนผสมที่หลากหลายตามความต้องการของพืชและดินได้ จึงถือเป็นนวัตกรรมที่คุ้มค่าและมีจุดเด่นมากมาย
รายการ ข้อดี
1.ต้นทุน ราคาแพงกว่าปุ๋ยอินทรีย์แต่ถูกกว่าปุ๋ยเคมี
ลดต้นทุนค่าแรงผสม(ปุ๋ยเคมี+ปุ๋ยอินทรีย์) ค่าแรงใส่
2.คุณภาพ ให้ผลเหมือนใส่ปุ๋ย4ชนิด คือปุ๋ยเคมี+ปุ๋ยอาหารรองและเสริม+ปุ๋ยอินทรีย์+ปุ๋ยชีวภาพ การใช้ประโยชน์จากธาตุอาหารเกือบ100% ให้ผลทั้งระยะสั้นและยาว
3.โอกาส มีโอกาสเติบโต เพื่อทดแทนปุ๋ยเคมี คู่แข่งยังน้อย

เพราะเหตุว่าปุ๋ยเคมียังมีความจำเป็นและปุ๋ยอินทรีย์ก็ควรได้รับการส่งเสริมเพื่อการอนุรักษ์ดิน ทางเลือกที่ดีที่สุดคือการใช้ปุ๋ยที่มีทั้งเคมีและอินทรีย์ในตัว